“NIA ผนึกกำลัง UPITI ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมภาคเหนือ 15 โครงการ”



เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 กลุ่มงานอุทยานวิทยาศาสตร์และการพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์ สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดพิธีลงนามทำสัญญารับทุนสนับสนุนการพัฒนาผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี ผศ.ดร. สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมฯ ผู้บริหารหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม คุณคุณาวุฒิ บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม และคุณธีรวัฒน์ เหล่าสมบัติ นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม เป็นตัวแทนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในครั้งนี้

 

โดยโครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) กับ มหาวิทยาลัยพะเยา ดำเนินการจัดตั้งหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving Unit : SID) เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุน การบ่มเพาะแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจ และนวัตกรรมทางด้านสังคม โดยผ่านการจัดกิจกรรมอบรม และการให้คำปรึกษาในเชิงบูรณาการ พร้อมเสริมสร้างศักยภาพด้านแผนธุรกิจ และแนวคิดทางด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อให้สังคม ชุมชน เกิดความยั่งยืนและได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ เครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานจะเป็นหน่วยงานที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมอย่างเป็นระบบ และมหาวิทยาลัยพะเยา โดยสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้เข้าร่วมเป็นหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ภายใต้ความร่วมมือและได้รับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โดยมีโครงการที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกทั้งหมด 15 โครงการดังนี้

 

1.ชื่อโครงการ : นวัตกรรมจัดการแม่โคหลังคลอดเพื่อเพิ่มจำนวนลูกโคเนื้อให้เกษตรกรจังหวัดพะเยา

หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในพะเยา

 

2.ชื่อโครงการ : พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดปวดเข่า

หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.ชณิตา ประดิษฐ์สถาพร

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะพยาบาลศาสตร์

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดเชียงราย

 

3.ชื่อโครงการ : แม่อิงชิโบริโมเดล

หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.กัลยา จำปาทอง

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะวิทยาศาสตร์

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : กลุ่มผ้ามัดย้อม “แม่อิงชิโบริ” บ้านแม่อิง

 

4.ชื่อโครงการ : นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าขยะอินทรีย์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาส และสิ่งแวดล้อม (BCG model)

หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.รัฐภูมิ พรหมณะ

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : ศูนย์เยาวชนเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

 

5.ชื่อโครงการ : โปรแกรมให้คำปรึกษาเพื่อค้นหาคุณลักษณะและสาขาวิชาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง

หัวหน้าโครงการ : ดร.พรเทพ โรจนวสุ

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : โรงเรียนบ้านหลวง จังหวัดน่าน

 

6.ชื่อโครงการ : แอพพลิเคชั่นบริการคำปรึกษาสำหรับการจัดสวัสดิการสังคมเฉพาะบุคคลแก่แรงงานนอกระบบ (มีสิทธิ)หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์

ผู้รับผิดชอบโครงการ : รัฐศาสตร์และลังคมศาสตร์

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : ตำบลเวียง เชียงคำ จังหวัดพะเยา

 

7.ชื่อโครงการ : การผลิตอาหารโคขุนจากเศษสับปะรดภูแลด้วยนวัตกรรมการหมักด้วยจุลินทรีย์

หัวหน้าโครงการ : รศ.ดร.โชค โสรัจกุล

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรข้าวอินทรีย์ จังหวัดเชียงราย

 

8.ชื่อโครงการ : นวัตกรรมโรงเรือนอัจฉริยะปลูกผักอินทรีย์เพื่อชุมชน

หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.วาสนา พิทักษ์พล

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : วิสาหกิจชุมชนหอมดอกคำใต้

 

9.ชื่อโครงการ : การนำขวดพลาสติก PET กลับมาใช้ใหม่เพื่อผลิตเส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ

หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.ปิยชนน์ เกษสุวรรณ

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะวิทยาศาสตร์

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab : FABLAB) โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยพะเยา

 

10.ชื่อโครงการ : นวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนระบบตลาดโคเนื้อล้านนาสู่ชุมชน

หัวหน้าโครงการ : ดร.ภูวิศสรณ์ ภูมิสรณคมณ์

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลแม่นาเรือ และกลุ่มผู้เลี้ยงโคกระบือบ้านสางใต้ ตำบลบ้านสางใต้

 

11.ชื่อโครงการ : ไข่ไก่เสริมภูมิคุ้มกัน ผลผลิตจากฟาร์มสู่อาหารเพื่อสุขภาพ

หัวหน้าโครงการ : ดร.ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : ศูนย์เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากวัสดุการเกษตรเพื่อผลิตอาหารสัตว์นางมาลัย

 

12.ชื่อโครงการ : การใช้แบบฟอร์ม Online คัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรอง

หัวหน้าโครงการ : นางธัญญ์นภัส ฐิติกิตวรธัญญ์

ผู้รับผิดชอบโครงการ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่นาเรือ

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่นาเรือ

13.ชื่อโครงการ : ผลักดัน เกษตรกรฟาร์มเห็ด ก้าวสู่ยุค 4.0

หัวหน้าโครงการ : นายศุขมิตร ทีฆเสนีย์

ผู้รับผิดชอบโครงการ : บริษัท ไอซีเอ็มอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : วิสาหวิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้านางรมในโรงเรือนบ้านร้อง

 

14.ชื่อโครงการ : วัสดุชีวมวลเพื่อลดการเผาป่าและหมอกควัน

หัวหน้าโครงการ : นายธรรมพลถ์ ศรีสกุล

ผู้รับผิดชอบโครงการ : เครือข่ายธุรกิจ บิสคลับ พะเยา

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : พื้นที่ในเขตหมู่ 16 ตำบลต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา บริเวณบ่อสิบสองและวัดห้วยผาเกี๋ยง

 

15.ชื่อโครงการ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาจากผักคาวตอง กรณีศึกษาบ้านสันมะแฟน ต.ธารทอง อ.พาน จ.เชียงราย

หัวหน้าโครงการ : นายกนกพงษ์ ศรีเที่ยง

ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาเชียงราย

ชุมชนที่ร่วมดำเนินโครงการ : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรแทนคุณ

ภาพ: นายศรัณย์ เหมะ เจ้าหน้าที่ออกแบบนวัตกรรม ข้อมูล/ข่าว: อภิรักษ์ นิลวัฒน์

เพิ่มข่าวโดย: นายศรัณย์ เหมะ เจ้าหน้าที่ออกแบบนวัตกรรม วันที่/เวลา : 2020-07-05 16:29:02