สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา 
Innovation and Technology Transfer Institute



วิสัยทัศน์
     สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นองค์กรชั้นนำในการพัฒนานวัตกรรมชุมชนสู่สากลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเหนืออย่างยั่งยืน

พันธกิจ
     พัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมและการให้บริการวิชาการแบบครบวงจรเพื่อสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยบรรลุพันธกิจและยุทธศาสตร์ด้านการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมและด้านการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศ ส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการใหม่และการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม

หลักการและเหตุผล
     สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นส่วนงานตามมาตรา 7 (4) ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 ตามมติสภามหาวิทยาลัยพะเยา ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2562  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยาที่ 6115/2563 โดยสถาบันฯ มีวิสัยทัศน์คือ องค์กรชั้นนำในการพัฒนานวัตกรรมชุมชน สู่สากลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเหนืออย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยพะเยา คือ มหาวิทยาลัยสร้างปัญญาเพื่อนวัตกรรมชุมชนสู่สากลอย่างยั่งยืน และเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่ระดับแนวหน้าของประเทศ การพัฒนานวัตกรรมชุมชนสู่สากลนั้นสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ดำเนินงานในมิติต่างๆ ทั้งการพัฒนานวัตกรรมต่อยอดจากผลงานวิจัย การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสร้างประโยชน์ในเชิงสังคมและเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคเหนือ การยกระดับความสามารถของชุมชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้เป็นผู้ประกอบการด้านนวัตกรรม การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนางานวิจัยไปสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ การให้บริการแก่นักวิจัยด้านศูนย์บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ การให้บริการห้องปฏิบัติการมาตรฐาน (ISO/IEC 17025:2017) ศูนย์วิจัยสัตว์ทดลอง ศูนย์การเรียนรู้พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารที่ได้รับมาตรฐานและได้รับอนุญาตเป็นสถานที่ผลิตอาหารและสามารถขอเลขสารบบอาหารได้ 7 ประเภทอาหาร รวมถึงมีการส่งเสริมและสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้นิสิต สนับสนุนนักวิจัยขับเคลื่อนโครงการวิจัยที่สำคัญ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นพันธมิตรสำคัญในการนำนวัตกรรมชุมชนสู่สากล นอกจากนั้นยังได้จัดทำข้อเสนอโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยดำเนินงานร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้าง 359,840,000 (สามร้อยห้าสิบเก้าล้านแปดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) โดยอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านอุทยานวิทยาศาสร์ภูมิภาคแห่งที่ 6 ของประเทศที่ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยพะเยา และจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการบริการเทคโนโลยีนวัตกรรมที่สำคัญของภาคเหนือตอนบน รวมถึงการบ่มเพาะและสร้างผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
     สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้มีการเตรียมความพร้อมในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา (EdPEx) แต่ยังไม่ได้มีการดำเนินงานอย่างเต็มรูปแบบ ในส่วนของความสำเร็จของตัวชี้วัด (Key Performance Indicator) ของมหาวิทยาลัย มีค่าความสำเร็จที่บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100 มีการดำเนินงานด้านการยกระดับมาตรฐานการให้บริการที่เกี่ยวข้อง เช่นการจัดทำและรักษาระบบมาตรฐานของห้องปฏิบัติการโดยได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 มีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งในในการดำเนินงานของหน่วยงานในปี 2566 อยู่ในระดับ A และมีการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวซึ่งได้รับโล่รางวัลระดับ Silver จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

อำนาจหน้าที่มาตรา 6
           ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน และทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ

ระเบียบมหาวิทยาลัยพะเยาว่าด้วย การดำเนินงานของสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา 2562
ข้อที่ 7 สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มีหน้าที่ดังนี้
1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้บริการแก่หน่วยงานของมหาวิทยาลัยและผู้รับบริการ
2. พัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการให้กับนิสิตและให้คำปรึกษาทางธุรกิจการบ่มเพาะธุรกิจและการให้บริการด้านต่างๆแก่ผู้มาขอรับบริการทาง ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
3. ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมโดยต่อยอดงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือเชิงสังคม โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐภาคเอกชนและองค์กรภายนอกทั้งในและต่างประเทศ
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งหรือร่วมกับ นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นในการจัดตั้งองค์กรนิติบุคคลแบบหนึ่งแบบใดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมลงทุนหรือเข้าถือหุ้นในกิจการที่ได้นำทรัพย์สินทางปัญญาผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมไปใช้ในการดำเนินธุรกิจหรือกิจการเพื่อสังคม
5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหรือนิสิตของมหาวิทยาลัยให้สามารถก่อตั้งธุรกิจหรือกิจการเพื่อสังคมโดยใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย
6. ให้บริการวิชาการบริหารโครงการและอำนวยความสะดวกงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพตามประกาศหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
7. พัฒนาศักยภาพการให้บริการวิชาการแก่สังคมโดยใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยเช่นอาคารสถานที่ห้องปฏิบัติการ เครื่องมือวิจัย สัตว์ทดลอง การวิเคราะห์ทดสอบ เป็นต้นเป็นต้น
8. พัฒนาศักยภาพบุคลากรของสถาบันเพื่อ ให้เกิดการยกระดับความสามารถในการทำงานและการให้บริการ
9. แสวงหารายได้จากการดำเนินงานสถาบันเพื่อพัฒนาองค์กรสู่การเป็นหน่วยงานในกำกับที่สามารถสร้างรายได้และบริหารรายได้ของหน่วยงานด้วยตนเอง